วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สนามรังนก สนามเปิด – ปิด ปักกิ่งเกมส์


ปักกิ่งสเตเดี้ยม หรือ เมนสเตเดี้ยม ของปักกิ่งเกมส์ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Beijing National Stadium ถือเป็นสนามกีฬาดาวเด่นในการแช่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ เนื่องจากใช้ประกอบพิธีเปิดและพิธีปิดโอลิมปิก อีกทั้งยังใช้จัดการแข่งขันกีฬาบางประเภท เช่น กรีฑา ฟุตบอล อีกด้วย ทั้งนี้ ภายหลังการแข่งขันโอลิมปิก 2008 แล้ว สนามแห่งนี้จะใช้เป็นสนามแข่งขันระหว่างประเทศ หรือกิจกรรมทางกีฬาอื่นๆ ส่วนที่เรียก ปักกิ่งสเตเดี้ยม ว่า "สนามรังนก" (Bird's Nest) นั้น เพราะลักษณะของสนามมีการออกแบบให้ดูคล้าย "รังนก" โดยใช้โครงเหล็กมาสอดประสานทับกันไปมา จนดูคล้ายรังนกขนาดใหญ่ จุผู้ชมได้ 91,000 ที่นั่ง (หลังโอลิมปิกจบลงจะลดลงเหลือเพียง 85,000 ที่นั่ง) ภายในมีที่นั่งสำหรับผู้ชมด้วยความสูงที่ลดหลั่นกันไป 7 ชั้น ส่วนบนของหลังคาเป็นเยื่อโปร่งแสง ซึ่งมีความคงทนต่อการสึกกร่อน เดิมทีจะมีหลังคาเปิด-ปิด แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ทำให้จีนสั่งยกเลิกการสร้างหลังคาแบบเปิด-ปิดไป สำหรับอัฒจันทร์แห่งนี้ มีความยาว 330 เมตร กว้าง 220 เมตร สูง 69.2 เมตร มีพื้นที่ 258,000 ตารางเมตร (เฉพาะส่วนที่ปูพื้นหญ้า) โดยสนามจะห่อด้วยแท่งเหล็กยาวโดยรวมถึง 36 กิโลเมตร มีน้ำหนักรวม 45,000 หมื่นตัน โดยสนามรังนกใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 17,500 ล้านบาท โดย "สนามรังนก" ก่อสร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 เสร็จสิ้นพร้อมเปิดใช้งานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นผลงานการออกแบบร่วมกันระหว่าง Herzog & DeMeuron สถาปนิกชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ออกแบบร่วมกับ China Architecture Design Institute และบริษัท Arup โดยมี อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินร่วมสมัยชาวจีนเป็นคนให้คำปรึกษาในการออกแบบ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งที่นำเอา "รังนก" มาทำเป็นแบบ เพราะรังนกเป็นอาหารยอดนิยมของชาวจีน และบ่งบอกว่าอยู่ในประเทศจีน โดยรูปแบบของสนามเป็นเหมือนกับการสานของรังนก ที่ใช้แท่งเหล็กสานต่อกันไปมาจนกลายเป็นรัง ซึ่งแนวความคิดการออกแบบรังนกจะมีลักษณะเป็นวงกลม 3 รอบ คือ ด้านนอก แกนกลาง และด้านใน โดยแต่ละวงกลมจะช่วยพยุงซึ่งกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น: